ความรู้เรื่อง Tier III (Concurrently Maintainable)

ในมาตรฐานของ TIA-942 (Telecommunications Infrastructure Standard for Data Center) เริ่มต้นประมาณปีปี 1980 เป็นห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) ที่ได้รับการปรับปรุงระบบจากรูปแบบ Tier II ให้มีความเสถียรภาพมากขึ้น มีการเพิ่มอุปกรณ์สำรองให้แก่ระบบหลัก เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบปรับอากาศ ให้มีความเสถียรภาพมากขึ้นโดยมีการสำรองแหล่งไฟฟ้าชุดที่สอง (Source B) เมื่อระบบไฟฟ้าชุดที่หนึ่ง (Source A) เกิดการผิดพลาดขึ้น โดยอุปกรณ์หลักทั้งหมดยังมีการ Redundant อย่างน้อย N+1 ในด้านระบบไฟฟ้าชุดที่หนึ่ง (Source A) รูปแบบของ Tier III ถูกพัฒนาให้มีเสถียรภาพมากขึ้นกว่ารูปแบบ Tier I และ Tier II โดยมีการกำหนดให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ในรูปแบบนี้ต้องเป็นอาคารเฉพาะศูนย์ คอมพิวเตอร์เท่านั้น ไม่รวมกับอาคารสำนักงานหรือพื้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์คอมพิวเตอร์ จึงทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น แต่ในรูปแบบ Tier III มีจุดอ่อนตรงที่ระบบสำรองแหล่งไฟฟ้าชุดที่สอง (Source B) ไม่มีการติดตั้งอุปกรณ์เหมือนในด้านแหล่งไฟฟ้าชุดที่หนึ่ง (Source A) หากแหล่งจ่ายระบบไฟฟ้าเกิดการผิดพลาดจะทำให้ห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) มีโอกาสหยุดทำงาน

ทั้งนี้การนำรูปแบบของ Tier III (Concurrently Maintainable) มีการลงทุนที่สูง เมื่อนำรูปแบบนี้มาใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ (Data Center) จะทำให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้องค์กรต้องพิจารณา ถึงความคุ้มค่าที่เกิดขึ้น หากนำรูปแบบนี้ไปใช้งาน โดย Uptime Institute ให้ค่า Representative Site Availability ในรูปแบบนี้ที่ 99.982%