ทำไม? ต้องใช้ UPS

เพราะ... ความไม่แน่นอนของกระแสไฟฟ้า ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
ไฟฟ้า... แหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับอุปกรณ์ IT ต่างๆ ในปัจจุบัน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าต้องมีเสถียรภาพและต่อเนื่อง
แต่ในความเป็นจริงแล้ว... เป็นไปไม่ได้เลยที่แหล่งพลังงานไฟฟ้าจะมีเสถียรภาพและต่อเนื่องเสมอไป ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นกับพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
สภาพแวดล้อมและสถานที่ที่ใช้งาน

ปัญหาทางไฟฟ้าที่พบบ่อย :
ไฟตก (Under Voltage)

สาเหตุ : เกิดจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่นั้นๆ
มีปริมาณมาก หรืออยู่ช่วงปลายสายของแหล่งจ่าย
พลังงานไฟฟ้า


ผลเสีย : อุปกรณ์ทำงานหนักขึ้น มีอายุการใช้งานสั้น
ลง บางครั้งไม่สามารถทำงานได้
ไฟเกิน (Over Voltage)

สาเหตุ : เกิดจากที่อยู่ใกล้แหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า หรือ
ใช้ไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอื่น (Generator)


ผลเสีย : ทำให้อุปกรณ์เสื่อมคุณภาพลง อายุการใช้งานสั้นลง บางครั้งอาจทำให้อุปกรณ์เสียหายได้

ไฟกระชาก (Surge / Spike)

สาเหตุ : มักเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่าเข้ามาในระบบสายส่ง หรือเกิดสิ่งผิดปกติในระบบสายส่ง เช่น
พายุ หรือ อุบัติเหตุ


ผลเสีย : ถ้ามีความรุนแรงมากจะทำให้อุปกรณ์เสียหายทันที
ไฟกระพริบ (Sags)

สาเหตุ : มักเกิดจากการเปิดอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า
มากๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ หรือ เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ เป็นผลทำให้แรงดันไฟฟ้าลดลงชั่วขณะ


ผลเสีย : อาจทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต้องหยุดชะงักและสูญเสียข้อมูล ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานสั้นลง
คลื่นสัญญาณรบกวน (Noise)

สาเหตุ : เกิดจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กหรือคลื่นวิทยุรบกวน


ผลเสีย : ถ้ามีความรุนแรงมากจะทำให้อุปกรณ์เสียหายทันที
ไฟดับ (Blackout)

สาเหตุ : เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่าเข้ามาในระบบสายส่ง หรือเกิดสิ่งผิดปกติในระบบสายส่ง เช่น
พายุ หรือ อุบัติเหตุ


ผลเสีย : ถ้ามีความรุนแรงมากจะทำให้อุปกรณ์เสียหายทันที
ประโยชน์ของ UPS :
1. จ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดไฟดับหรือไฟตก
2. ปรับแรงดันไฟฟ้าให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดไฟตก, ไฟดับ, ไฟกระชาก และไฟเกิน
3. เพื่อให้มีเวลาสำหรับการทำงานที่ค้างต่อให้เสร็จ, Save ข้อมูล และไม่ทำให้ Hardware เช่น hard disk, mainbord และหลอดภาพ เป็นต้น หรือ Software เสียหาย
4. ป้องกันสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ข้อมูลและอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
5. ช่วยยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้า, อุปกรณ์ไอที และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
วิธีการเลือกใช้งานและเลือกขนาดเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS

การเลือกใช้ UPS
เนื่อง จาก UPS มีหลายประเภทแตกต่างกันออกไป ผู้ใช้ควรพิจารณาเลือก UPS ให้เหมาะสมกับระบบ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการใช้งานให้
มากที่สุด ซึ่งควรคำนึงถึงปัจจัยหลักๆ ดังนี้
1. เลือกชนิดของ UPS, ขนาดและรูปทรงให้เหมาะสมกับสภาพของปัญหาไฟฟ้าในสถานที่ที่ต้องการใช้งาน
2. ความสำคัญของอุปกรณ์และระบบมีมากน้อยแค่ไหน
3. อัตราการกินไฟของอุปกรณ์รวมทั้งหมด
4. ความน่าเชื่อถือได้ของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตลอดจนเงื่อนไขของการให้บริการหลังการขาย
วิธีการเลือกขนาดเครื่องสำรองไฟฟ้า UPS
การเลือกซื้อเครื่องสำรองไฟฟ้าสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือ การเลือกขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งมีขั้นตอนการคำนวณดังต่อไปนี้
1. เลือกอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องการป้องกันด้วยเครื่องสำรองไฟฟ้า
2. ดูรายละเอียดว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้กำลังไฟฟ้าเท่าไหร่ (ดูที่ฉลากหลังเครื่อง หรือคู่มือ) ซึ่งอาจจะระบุเป็น A (Ampere) หรือ W (Watt)
3. ค่ากำลังไฟฟ้าของแต่ละอุปกรณ์จะต้องเปลี่ยนเป็น โวลต์-แอมป์ (VA) หรือ วัตต์ (Watt) เพื่อทำให้สามารถรวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกัน
กรณีที่ระบุเป็นแอมป์ (Ampere) : VA = Volt X A (Volt คือแรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ = 220 Volt {Vac})
กรณีที่ระบุเป็นวัตต์ (Watt) : VA = W / 0.6 (0.6 คือค่า Power Factor* ของอุปกรณ์ มีค่า = 0.6-0.7)
{ค่า Power Factor (PF) คือค่าตัวเลขอัตราส่วนของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานจริง (Real Power;P) ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt;W) หารด้วยค่าำพลังงานที่ปรากฎ (Apparent Power;S) ซึ่งมีหน่วยเป็นวีเอหรือโวลต์-แอมป์ (VA)}
4. เมื่อ คำนวณได้ค่า VA รวมของอุปกรณ์แล้ว ก็สามารถเลือกขนาดการจ่ายกำลังของ UPS ได้โดยให้ขนาดการจ่ายกำลังของ UPS มี มากกว่า ค่า VA รวมของอุปกรณ์
ประมาณ 10-20% เพื่อประสิทธิภาพอันสูงสุดในการใช้งาน โดยปกติเครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) จะสำรองไฟได้ประมาณ 5-10 นาที (ขึ้นอยู่กับขนาด UPS แต่ละรุ่น) หากต้องการให้ระยะเวลาสำรองที่นานขึ้น ทำได้โดยเลือกเครื่องสำรองไฟฟ้าที่มีขนาด VA ใหญ่ขึ้นและเลือกเครื่องสำรองไฟฟ้าที่สามารถต่อแบตเตอรี่เพ่ิมเติมได้ภายนอก (รุ่น S Series ขึ้นไป)