การออกแบบพื้นฐานภายในอาคารมีองค์ประกอบมากมายที่จำเป็นต้องใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย หรือระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่มีอยู่หนึ่งระบบที่คนมักไม่พูดถึงกัน แต่กลับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการอออกแบบ นั่นคือ “ระบบสุขาภิบาล” นั่นเอง
ระบบสุขาภิบาล คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำภายในอาคาร ตั้งแต่ระบบประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค จนไปถึงการระบายน้ำเสียที่ใช้แล้ว หากระบบสุขาภิบาลไม่ดีย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่างๆ มากมาย ตั้งแต่ผลเสียเล็กๆ อย่างน้ำไหลช้ากว่าที่ควรจะเป็น ไปจนถึงผลเสียใหญ่ๆ อย่างน้ำรั่วจนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารเลยทีเดียว
นอกเหนือจาก 10 องค์ประกอบที่กล่าวมา ทางผู้ออกแบบอาจมีการใส่องค์ประกอบอื่นๆ เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้อยู่อาศัย รวมถึงการออกแบบโดยรวมของอาคาร เพื่อให้การดำเนินงานนั้นสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด
รูปแบบของระบบสุขาภิบาล
ระบบสุขาภิบาลถูกแยกย่อยออกเป็น 7 ระบบตามการทำงานต่างๆ ภายในอาคาร ดังนี้
1. ระบบน้ำดี
ระบบน้ำดี คือ ระบบการลำเลียงน้ำประปาไปจนถึงน้ำสะอาดที่ผ่านการกรองเพื่อใช้งานตามจุดต่างๆ ภายในอาคาร เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ไปจนถึงห้องซักล้าง
2. ระบบระบายน้ำโสโครก
ระบบระบายน้ำโสโครก คือ ระบบการระบายน้ำเสียที่มีความสกปรกสูง รวมถึงสิ่งปฏิกูลต่างๆ เช่น น้ำเสียจากโถส้วม โถปัสสาวะ เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนส่งออกนอกอาคาร
3. ระบบระบายน้ำทิ้ง
ระบบระบายน้ำทิ้ง คือ ระบบการนำน้ำเสียที่ผ่านการใช้งานอื่นๆ เช่น การซักล้าง การทำความสะอาด เข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียก่อนระบายออกนอกอาคาร โดยสาเหตุที่ต้องแยกกับระบบระบายน้ำโสโครก เนื่องจากจะเป็นการลดปริมาณน้ำที่ใช้กักเก็บและบำบัดนั่นเอง
4. ระบบบำบัดน้ำเสีย
ระบบบำบัดน้ำเสีย คือ ระบบบำบัดน้ำภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการดักตะกอน การปรับสภาพ เพื่อให้น้ำเสียดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนส่งลงท่อระบายน้ำสาธารณะ
5. ระบบท่อระบายอากาศ
ระบบท่อระบายอากาศ คือ ระบบท่อที่เชื่อมกับท่อน้ำโสโครกและท่อน้ำทิ้ง เพื่อถ่ายอากาศเข้าสู่ท่อ ทำให้ไม่เกิดภาวะสูญญากาศที่อาจส่งผลต่อการระบายน้ำเสีย อีกทั้งระบบท่อโสโครกจะมีการออกแบบให้น้ำไหลเพียง ¼ ของท่อเท่านั้น การเสริมระบบระบายอากาศเข้าไปจะช่วยให้แรงดันภายในท่อสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6. ระบบท่อระบายน้ำฝน
ระบบท่อระบายน้ำฝน คือ ระบบท่อสำหรับลำเลียงและระบายน้ำฝนที่ตกลงบนตัวอาคาร ทำให้ไม่เกิดน้ำขัง น้ำนอง ทั้งบริเวณดาดฟ้าและบริเวณอื่นๆ ที่ฝนสามารถสาดถึงได้
7. ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร
ระบบระบายน้ำภายนอกอาคาร คือ ระบบที่ติดตั้งสำหรับระบายน้ำในบริเวณต่างๆ นอกตัวอาคาร ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำขัง แอ่งน้ำที่อยู่ในบริเวณเข้าสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะได้ไวขึ้น
ระบบสุขาภิบาลทั้ง 7 ระบบต่างมีการใช้งานแยกย่อยต่างกันออกไป และอาจมีการเรียกรวม-แยก ขึ้นอยู่กับการติดตั้งและประเภทอาคาร โดยปกติแล้ว เราจะพบระบบน้ำดี-น้ำเสียเป็นหลัก นอกจากนี้ การทำงานของระบบสุขาภิบาลในระดับสากลยังแตกต่างกันออกไปตามการจัดการด้านสาธารณสุขและการประปาของแต่ละประเทศอีกด้วย
1. คุณสมบัติของวัสดุและการใช้งาน
วัสดุที่เลือกรวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ภายในระบบสุขาภิบาลของอาคารควรตรงตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดหรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการติดตั้งระบบนั้นๆ เช่น วัสดุท่อที่ได้มาตรฐาน มีการใช้ท่อถูกประเภท ไม่นำท่อสายไฟมาใช้แทนท่อประปา เป็นต้น
โดยคุณสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานดังกล่าวแบบละเอียดได้ที่ มาตรฐานท่อระบบสุขาภิบาล กรมโยธาธิการและผังเมือง
2. ข้อควรรู้ในการก่อสร้าง
นอกจากวัสดุจะต้องได้มาตรฐานแล้ว ยังมีข้อควรรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างทั้งหลายเช่นกัน โดยมีเรื่องที่นักออกแบบและบุคคลทั่วไปควรทราบดังนี้
ผู้วางระบบประปาและระบบสุขาภิบาลควรมีรับรอง แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อกฎหมายครอบคลุมในส่วนนี้มากนัก แต่การที่ผู้จัดการมีเอกสารรับรองต่างๆ จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า
ควรมีการประเมินราคาต่างๆ ล่วงหน้า โดยบอกรายละเอียดเกี่ยวกับราคาและค่าแรงต่างๆ อย่างครอบคลุม ไม่หมกเม็ด
สามารถตรวจสอบได้ ก่อนส่งมอบงานต่างๆ สามารถเปิดให้ผู้ตรวจสอบอาคารสามารถตรวจสอบจุดต่างๆ และแก้ไขระบบรวมถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ด้วยความโปร่งใส
3. ดีไซน์การการก่อสร้างและสุขาภิบาลยุคใหม่
สำหรับนักออกแบบยุคใหม่ การอัปเดตข้อมูลข่าวสาร วัสดุใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด ดังนั้น ดังนั้น นักออกแบบจึงควรติดตามติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อให้สามารถตอบคำถามผู้จ้าง รวมถึงนำเสนอสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
สำหรับนักออกแบบท่านใดที่กำลังออกแบบระบบสุขาภิบาล สามารถดาวน์โหลดโมเดลจริงสำหรับการก่อสร้างระบบดังกล่าวได้ที่ โมเดลระบบสุขาภิบาลจาก Powermatic